เมนู

สองบทว่า อาปตฺตานาปตฺตึ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้อาบัติ
และอนาบัติ ที่ทรงแสดงในสิกขาบทนั้น ๆ.
สองบทว่า อาปนฺโน กมฺมกโต มีความว่า ภิกษุต้องอาบัติแล้ว,
กรรมย่อมเป็นกิจอันสงฆ์ทำแล้ว เพราะการต้องนั้นเป็นปัจจัย.

[ว่าด้วยกรรมของภิกษุไม่ควรระงับ]


สองบทว่า กมฺมํ น ปฏิปฺปสฺสมฺเภตพฺพํ มีความว่า กรรม
ของภิกษุนั้น อันสงฆ์ไม่พึงให้ระงับ เพราะเหตุที่เธอประพฤติ โดยคล้อยตาม
พรรคพวก. อธิบายว่า เหมือนบุคคลที่ถูกล่ามไว้ด้วยเชือก อันตนจะพึงแก้
เสียฉะนั้น.

[ว่าด้วยองค์ 5 ของภิกษุผู้เข้าสงคราม]


หลายบทว่า สเจ อุปาลิ สงฺโฆ สมคฺคกรณียานิ กมฺมานิ
กโรติ
มีความว่า ถ้าว่าสงฆ์กระทำกรรมมีอุโบสถเป็นต้น อันภิกษุทั้งหลาย
ผู้พร้อมเพรียงกันพึงกระทำ, อันความอุดหนุน (แก่การทะเลาะ) อันภิกษุ
ไร ๆ ไม่พึงให้ ในเมื่อกรรมสามัคคีมีอุโบสถและปวารณาเป็นต้น ต้องงดไว้.
ก็ถ้าว่า สงฆ์ให้แสดงโทษล่วงเกินแล้วกระทำสังฆสามัคคีก็ดี กระทำการระงับ
อธิกรณ์ด้วยตินวัตถารกวินัย แล้วกระทำอุโบสถและปวารณาก็ดี, กรรมเห็น
ปานนี้ จัดเป็นกรรมที่สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงพึงกระทำ.
บทว่า ตตฺเร เจ มีความว่า ถ้าว่าในกรรมเช่นนั้น ไม่ชอบใจแก่
ภิกษุไซร้, พึงกระทำความเห็นแย้งก็ได้ ควบคุมความพร้อมเพรียงเห็นปานนั้น